ทำไมต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า ?- เซฟตี้อินไทย
อบรมหลักสูตรฟรี 2567          คลิกที่นี่

บทความ

ทำไมต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า ?



ทำไมต้องตรวจสอบระบบไฟฟ้า ?

          อาศัย อำนาจตามความในมาตรา ๖ และมาตรา ๘ (๓) (๔) (๖) (๗) และ (๘) แห่ง พระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
          ข้อ ๑ ในกฎกระทรวงนี้ “ระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า
          (๑) สายไฟฟ้า การเดินสายไฟฟ้า เครื่องยนต์ไฟฟ้า การติดตั้งเครื่องยนต์ไฟฟ้า สวิตช์ไฟฟ้า อุปกรณ์ไฟฟ้า เครื่องใช้ไฟฟ้า หรือเครื่องไฟฟ้าอื่น
          (๒) เครื่องจักร เครื่องอุปกรณ์ สิ่งที่นำมาใช้ในโรงงาน หรือส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า ที่อาจมีไฟฟ้า ประจุไฟฟ้า หรือไฟฟ้าสถิตย์
          (๓) ระบบสายดิน (earthing system) ระบบสายต่อฝาก (bonding system) หรือระบบสายป้องกัน เนื้อโลหะผุกร่อน (electrochemical corrosive system )
          (๔) ระบบไฟฟ้าอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา



          “การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า การตรวจสอบ การทดสอบ การตรวจทดสอบ การศึกษาหรือค้นคว้า การวิเคราะห์ การหาข้อมูลหรือสถิติต่าง ๆ เพื่อเป็นหลักเกณฑ์หรือเป็นประโยชน์ ประกอบการพิจารณาด้านความปลอดภัยเกี่ยวกับการผลิต การส่งหรือเพื่อส่ง การจ่ายหรือเพื่อจ่าย การใช้ หรือการซ่อมระบบไฟฟ้าในโรงงาน
          การใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงาน” หมายความว่า การนำมาใช้ การเฝ้าตรวจ การดูแล การแก้ไข ระบบไฟฟ้าในโรงงาน และให้หมายความรวมถึงการติดตั้ง การซ่อม การปรับปรุง หรือการเพิ่มเติม ระบบไฟฟ้าในโรงงานด้วย
          แบบแปลน” หมายความว่า แบบที่ใช้เพื่อประโยชน์ในการสร้าง ติดตั้ง ดัดแปลง รื้อถอน เคลื่อนย้าย ใช้ หรือเปลี่ยนการใช้ระบบไฟฟ้าในโรงงาน โดยแสดงเป็นแผนภาพเส้นเดี่ยว (single line diagram) ที่มีรายละเอียดตำแหน่งของหม้อแปลงไฟฟ้ากำลัง ตู้สวิตช์ประธาน (main distribution board) ตู้ควบคุมวงจรไฟฟ้ากำลังย่อย และขนาดสายไฟฟ้าของวงจรอย่างชัดเจนพอที่จะใช้ในการดำเนินการได้ ตามหลักวิชาการด้านวิศวกรรมไฟฟ้า
          ผู้ประกอบกิจการโรงงาน” หมายความว่า ผู้ประกอบกิจการโรงงานทุกจำพวกและทุกประเภท หรือชนิดของโรงงานที่กำหนดไว้ในบัญชีท้ายกฎกระทรวง (พ.ศ. ๒๕๓๕) ออกตามความในพระราชบัญญัติ โรงงาน พ.ศ. ๒๕๓๕ เว้นแต่กฎกระทรวงนี้จะกำหนดเป็นอย่างอื่น
          วิศวกร” หมายความว่า บุคคลธรรมดาหรือนิติบุคคลซึ่งได้รับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมสาขาไฟฟ้าตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร



          ข้อ ๒ ผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่สองและผู้ประกอบกิจการโรงงานจำพวกที่สาม ต้องมีแบบแปลนที่แสดงการติดตั้งระบบไฟฟ้าในโรงงานตามความเป็นจริง (as-built drawing) และรายการ ประกอบแบบแปลน โดยในแบบแปลนนั้นต้องมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
          ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าในโรงงานมีการปรับปรุง แก้ไข เพิ่มเติม หรือเปลี่ยนแปลงให้ผิดไปจาก แบบแปลนตามวรรคหนึ่ง ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการแก้ไขแบบแปลนดังกล่าว ให้ถูกต้อง ตลอดเวลา โดยในแบบแปลนนั้นต้องมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรีกำหนดโดย ประกาศ ในราชกิจจานุเบกษา
          ข้อ ๓ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องใช้วัสดุ อุปกรณ์ และส่วนประกอบต่าง ๆ ของระบบไฟฟ้า ในโรงงานที่มีลักษณะและคุณสมบัติเป็นไปตามมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมตาม กฎหมายว่าด้วยมาตรฐาน ผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมหรือมาตรฐานอื่นที่ยอมรับกัน โดยมีคำรับรองของวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
          ข้อ ๔ การใช้งานระบบไฟฟ้าในโรงงาน ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องดำเนินการให้เป็นไป ตามหลักวิชาการหรือมาตรฐานที่ยอมรับกัน หรือตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
          ข้อ ๕ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดให้มีการตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรอง ความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานเป็นประจำทุกปี โดยวิศวกรหรือบุคคลอื่นที่ รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา โดยการตรวจสอบและรับรองดังกล่าวต้องจัดให้มีเอกสารเป็นหลักฐาน 
          การจัดให้มีเอกสารตามวรรคหนึ่งให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ใน กรณีที่มีเหตุอันควร รัฐมนตรีจะประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดหลักเกณฑ์ และวิธีการ ตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงานตามวรรค หนึ่งก็ได้ การตรวจสอบระบบไฟฟ้าในโรงงานและรับรองความปลอดภัยของระบบไฟฟ้าในโรงงาน ที่จัดอยู่ในประเภทอาคารที่ต้องจัดให้มีผู้ตรวจสอบตามกฎหมายว่าด้วยการควบ คุมอาคารให้เป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นและให้ถือว่าผู้ประกอบกิจการโรงงานที่ได้จัดให้มี ผู้ตรวจสอบนั้นได้ดำเนินการ ตามวรรคหนึ่งแล้ว
          ข้อ ๖ ผู้ประกอบกิจการโรงงานตามประเภทหรือชนิดของโรงงานในบัญชีท้ายกฎกระทรวงนี้ ต้องจัดให้มีบุคลากรประจำโรงงาน คุณสมบัติ จำนวน และหน้าที่ของบุคลากรประจำโรงงาน รวมทั้งการส่งรายชื่อบุคลากร ประจำโรงงานให้แก่กรมโรงงานอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่รัฐมนตรี กำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา บุคลากรประจำโรงงานตามวรรคหนึ่งให้หมายถึงคนงานและวิศวกรที่เกี่ยวข้องกับระบบไฟฟ้า ในโรงงาน



          ข้อ ๗ ผู้ประกอบกิจการโรงงานต้องจัดเก็บและรักษาแบบแปลนตามข้อ ๒ และเอกสาร ตามข้อ ๕ หรือเอกสารใดตามกฎกระทรวงนี้ไว้เป็นเอกสารประจำโรงงาน เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบ ของพนักงานเจ้าหน้าที่



          ข้อ ๘ ภายในสามปีนับแต่วันที่กฎกระทรวงนี้ใช้บังคับ มิให้นำความในข้อ ๒ มาใช้บังคับ กับโรงงานที่ได้รับใบรับแจ้งหรือใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงานก่อนวันที่กฎ กระทรวงนี้ใช้บังคับ

Comments


businessman

โปรโมชัน
อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย

อบรมจป.กับเซฟตี้อินไทย ในราคาสุดคุ้ม! โปรโมชั่นลดสูงสุด 30% เฉพาะเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน 2567

บทความล่าสุด
อัปเดตวิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

อัปเดต! วิธีการวัดระดับเสียงการรบกวน2567 จากกรมโรงงานอุตสาหกรรม

ประกาศจากกรมสวัสดิการล่าสุด

ประกาศจาก กสร. เรื่องการเทียบเท่าวุฒิไม่ต่ำกว่า ป.ตรี อาชีวอนามัยและความปลอดภัย

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

ประกาศกสร.หลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการฝึกอบรมผู้บริหารหัวหน้างานและลูกจ้าง ฉ.2

บทความยอดนิยม
อุบัติเหตุและอันตรายจากการทำงาน,อันตรายจากการทํางาน มีอะไรบ้าง,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุบัติเหตุภายในที่ทำงาน,

สาเหตุของการเกิดอุบัติเหตุภายในที่ทำงาน

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงกำหนดมาตรฐานเกี่ยวกับระบบการจัดการด้านความปลอดภัย พ.ศ. 2565

กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก รถโฟล์คลิฟท์ forklift 2564

นายจ้างต้องรู้! กฎกระทรวงเกี่ยวกับรถยก 2564

แบ่งปัน
ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai ติดต่อสอบถามคลิกไลน์ Safety In Thai